เอื้องกลีบม้วนขอบจัก / -

ประวัติการค้นพบ: มีการรายงานพืชชนิดนี้ครั้งแรกในวารสาร Journal of the Straits Branch of the Royal Asiatic Society ปี ค.ศ. 1903 โดย นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ Henry Nicholas Ridley ที่มาชื่อไทย: - ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: กล้วยไม้ดิน ลำลูกกล้วยรูปกระสวยแคบ มีกาบหุ้มลำลูกกล้วย ใบมี 3-4 ใบ ต่อลำ รูปรี ช่อดอกตั้งขึ้น มีดอกมากถึง 12 ดอก ต่อช่อ ดอกสีม่วงเข้มออกหม่น กลีบเลี้ยงบนรูปขอบขนานจนถึงรูปหอก กลีบเลี้ยงข้างรูปหอกเบี้ยว กลีบดอกเป็นเส้น กลีบปากรูปไข่กลับจนถึงรูปหัวใจกลับ ขอบกลีบปากส่วนปลายหยักคล้ายจักรฟันเลื่อย โคนกลีบปากมีปุ่มเนื้อเยื่อเป็นสันอยู่บริเวณโคนกลีบทั้งสองข้าง นิเวศวิทยา: พบขึ้นตามที่ชื้นสันเขาลาดเอียง และมีมอสปกคลุม ออกดอกในเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม การกระจายพันธุ์: ประเทศอินเดีย หมู่เกาะในทะเลอันดามัน เกาะนิโคบา ประเทศไทย เวียดนาม คาบสมุทรมาเลเซีย และเกาะสุมาตรา ข้อมูลชีววิทยาอื่นๆ: - สถานภาพทางการอนุรักษ์: - เอกสารอ้างอิง: [1] Sumathi, R., Jayanthi, J. & Karthigeyan, K. (2011). Liparis atrosanguinea Ridl. (Orchidaceae), a new Orchid addition to India from Andaman & Nicobar islands Taiwania 56: 257-260.


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Liparis atrosanguinea Ridl.

ชื่อท้องถิ่น = -

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง